ภาษีมรดกที่มากสุด ในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้ และของโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่ามรดกจากบรรพบุรุษ ใช่ว่าทายาทจะได้มรดกเต็มจำนวน
เพราะในบางประเทศ รัฐบาลก็มีการเรียกเก็บภาษีมรดก
ซึ่งจะมีการคิดอัตราภาษีมรดกที่แตกต่างกันออกไป
แล้วถ้าการเก็บภาษีมรดกนั้น เกิดขึ้นกับตระกูลที่รวยที่สุดในประเทศ
และตระกูลนั้นยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราภาษีมรดกสูงที่สุดในโลก
ภาษีมรดกนั้นก็จะมีมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาท
ซึ่งมูลค่าขนาดนี้พอ ๆ กับทรัพย์สินของบุคคลที่รวยที่สุดของหลายประเทศเลยทีเดียว
แล้วทายาทตระกูลนั้นคือใคร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ดาวน์โหลดที่นี่ > https://radarspoint.page.link/longtunman
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://blog.radarspoint.com/radars-point
╚═══════════╝
จริง ๆ แล้ว การเก็บภาษีมรดก ถูกเสนอให้ใช้เพื่อเป้าหมายหลัก
ในเรื่องการช่วยกระจายรายได้และความมั่งคั่ง ให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
ซึ่งในแต่ละประเทศ ก็มีระบบการคิดภาษี และข้อกำหนดด้านอัตราภาษี ที่แตกต่างกันออกไป
เราลองมาดูอันดับประเทศที่เก็บภาษีมรดกสูงที่สุดในโลก 5 อันดับแรก
โดยข้อมูลจะเป็นอัตราภาษีขั้นสูงสุดของแต่ละประเทศ
ญี่ปุ่น 55%
เกาหลีใต้ 50%
ฝรั่งเศส 45%
สหราชอาณาจักร 40%
สหรัฐอเมริกา 40%
ในขณะที่ประเทศไทยของเรา มีการเรียกเก็บภาษีมรดกขั้นสูงสุดที่ 10%..
โดยเรื่องการเก็บภาษีมรดกด้วยอัตราที่สูงขนาดนี้ ก็กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในประเทศเกาหลีใต้
ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว สืบเนื่องมาจากการเสียชีวิตของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศนั่นเอง
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คุณ Lee Kun-hee
ประธานกรรมการและทายาทรุ่นที่ 2 ของ Samsung Group ได้เสียชีวิตลง
เขาคนนี้ คือผู้ที่ปลุกปั้นแบรนด์ Samsung จนเป็นที่รู้จักและยอมรับไปทั่วโลก
และยังครองตำแหน่งมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเกาหลีใต้มาอย่างยาวนาน
มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด ณ เดือนตุลาคม ปี 2020 อยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท
นั่นจึงทำให้เรื่องที่คนจับตามองไม่ใช่เรื่องที่ว่าใครจะมารับตำแหน่งประธานบริษัทต่อ
เพราะเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าผู้มารับช่วงต่อก็คือลูกชายเพียงคนเดียวของเขา
ซึ่งเป็นรองประธานกรรมการอยู่ก่อนแล้ว
แต่สิ่งที่คนสนใจ ก็คือการถ่ายโอนมรดกของเขาต่อให้กับทายาท
ซึ่งมันจะตามมาด้วยการจ่ายภาษีมรดกมูลค่ามหาศาล
โดยภาษีมรดกนี้ จะถูกเรียกเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก ซึ่งก็ได้แก่ คุณ Hong Ra-hee ภรรยา
คุณ Lee Jae-yong ลูกชายคนโต รองประธานกรรมการ Samsung Electronics
คุณ Lee Boo-jin ลูกสาวคนโต ประธานกรรมการและซีอีโอ Hotel Shilla
คุณ Lee Seo-hyun ลูกสาวคนรอง ประธาน Samsung Welfare Foundation
เมื่อ Samsung เป็นตระกูลรวยที่สุดในประเทศ
แน่นอนว่าต้องถูกคิดอัตราภาษีขั้นสูงสุดที่ 50%
โดยคิดภาษีจากหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินอื่น ๆ
ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ มีข้อกำหนดเพิ่มเติมในส่วนของมรดกที่เป็นหุ้นว่า
หากคนที่ได้หุ้นเป็นมรดก จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท
จะโดนคิดภาษีเพิ่มอีก 20%
ซึ่งหลังจากการจัดสรรมรดกแล้ว คุณ Lee Jae-yong ลูกชายคนโต
จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ Samsung Electronics และบริษัทในเครือ
นั่นหมายความว่ามรดกส่วนนี้จะโดนเก็บภาษีเพิ่มอีก 20%
ทำให้เมื่อคิดรวมภาษีทั้งก้อนแล้ว
ครอบครัวของคุณ Lee Kun-hee ทั้งหมด
จะถูกคิดภาษีมรดกด้วยอัตราเฉลี่ยกว่า 60%
สูงกว่าอัตราที่สูงที่สุดในโลก ที่ 55% ของญี่ปุ่นเสียอีก
แล้วภาษีที่ต้องจ่าย คิดเป็นเงินเท่าไร ?
การประเมินมูลค่าหุ้นที่ได้รับเป็นมรดก จะคิดจากราคาเฉลี่ย
โดยใช้วันที่ตลาดเปิดทำการล่าสุดก่อนการเสียชีวิต คือวันที่ 23 ตุลาคม 2020 เป็นวันฐาน
และคำนวณราคาเฉลี่ย จากราคาปิดเป็นเวลาทั้งหมด 4 เดือน
นับไป 2 เดือนก่อนหน้า และ 2 เดือนหลังจากวันฐาน
นั่นคือราคาเฉลี่ยของราคาปิดระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม ถึง 22 ธันวาคม 2020
เมื่อคำนวณจากราคาเฉลี่ยดังกล่าวแล้ว
หุ้นที่ตกทอดเป็นมรดก จะมีมูลค่ากว่า 5.33 แสนล้านบาท
โดยภาษีมรดกที่ทายาท Samsung ต้องจ่ายทั้งหมด
ถูกคิดในอัตราภาษีมรดกกว่า 60%
จึงทำให้ภาษีที่ต้องจ่ายมีมูลค่ามากถึง 3.36 แสนล้านบาท
ซึ่งมูลค่าดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นภาษีมรดกที่มีมูลค่ามากสุดในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้
แต่ยังนับเป็นหนึ่งในภาษีมรดกที่มีมูลค่ามากสุดในโลกอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ ภาษีมรดกที่มากที่สุดในเกาหลีใต้ เป็นการจ่ายภาษีของทายาท LG Group
จากการที่คุณ Koo Bon-moo ทายาทรุ่นที่ 2 และประธานกรรมการในขณะนั้น
เสียชีวิตลงในปี 2018 คิดมูลค่าภาษีได้เป็น 25,800 ล้านบาท
นั่นหมายความว่าภาษีที่ทายาท Samsung ต้องจ่าย มีมูลค่ามากกว่าของกลุ่ม LG ถึง 13 เท่า
คำถามต่อมาคือ จะเตรียมเงินมาจากที่ไหน ?
ปกติแล้วความมั่งคั่งเหล่านี้ ส่วนมากจะอยู่ในรูปของการถือหุ้น
อาจมีอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ เช่น งานศิลปะ ร่วมด้วย
ซึ่งเงินสดที่มีอยู่ ไม่เพียงพอจะจ่ายภาษี
ทางเลือกหลัก ๆ มีอยู่ 2 ทาง
ทางเลือกแรก คือขายหุ้นบางส่วนออกมา โดยเลือกขายหุ้นบริษัทในเครือที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก
แต่วิธีการนี้มีข้อเสียที่สำคัญก็คือ เมื่อจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ลดลง
อำนาจในการบริหารก็ลดลงตามไปด้วย
จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีเท่าไรนัก
อีกทางเลือกหนึ่ง คือโหวตในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เพิ่มการจ่ายเงินปันผล
ในระดับที่เพียงพอต่อการช่วยจ่ายภาษี ซึ่งส่วนใหญ่ก็มองว่าผู้เสียภาษีคงต้องเลือกวิธีนี้
และนั่นจึงสะท้อนให้เห็นจากที่ราคาหุ้นของ Samsung Electronics ปรับเพิ่มขึ้น
หลังมีข่าวการเสียชีวิตของคุณ Lee Kun-hee
ส่วนหนึ่งเพราะเก็งกำไรเรื่องการเพิ่มการจ่ายเงินปันผล เพื่อมาจ่ายภาษีมรดก
โดยทายาท Samsung จะเริ่มจ่ายภาษีก้อนแรกในสิ้นเดือนนี้ จากภาษีทั้งหมด 6 ก้อน ที่สามารถแบ่งจ่ายได้ภายใน 5 ปี
สรุปแล้ว
แม้การจากไปของคุณ Lee Kun-hee จะทำให้ลูกชายอย่างคุณ Lee Jae-yong ได้รับมรดกเป็นหุ้นใน Samsung Electronics และบริษัทในเครือไปเกือบทั้งหมด แต่เขาก็ไม่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นคนที่รวยที่สุดในเกาหลีใต้ได้ เพราะการต้องจ่ายภาษีมรดกที่มูลค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์นั่นเอง
เหลือความพีกตอนจบ
ไม่ว่าคุณ Lee Jae-yong จะอยู่อันดับ 4 หรืออันดับ 1 แต่ตอนนี้เขาคงไม่ได้มีโอกาสทำอะไรกับทรัพย์สินของเขาไปสักพัก เพราะตอนนี้เขากำลังโดนจำคุก 2 ปีครึ่ง จากการติดสินบนประธานาธิบดีหญิงเกาหลีใต้คนก่อนชื่อ Park Geun-hye..
╔═══════════╗
5.5 นี้ เปิด Radars Point ก่อนช็อป ได้คืนไปลงทุนให้งอกเงยได้!
.
แค่ช้อป Lazada, Shopee, JD Central ฯลฯ ผ่าน Radars Point รับ Point คืน ให้คุณเลือกลงทุนแผนลงทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศ
.
สำหรับแฟนเพจลงทุนแมนและเป็นผู้ใช้ใหม่ Radars Point กรอกโค้ดลับ LTM8 รับฟรี 8 Point นำไปเริ่มต้นลงทุนฟรีกัน!
.
ดาวน์โหลดที่นี่ > https://radarspoint.page.link/longtunman
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://blog.radarspoint.com/radars-point
.
#RadarsPoint
#ลงทุนง่ายๆไม่ต้องใช้เงิน
╚═══════════╝
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-28/samsung-heirs-to-pay-11-billion-donate-art-to-settle-tax-bill
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20201222000929#:~:text=Under%20the%20local%20tax%20rules,percent%20deduction%20for%20voluntary%20reporting.
-https://www.koreatimes.co.kr/www/tech/2021/02/133_301371.html#:~:text=About%20a%2060%20percent%20tax,Foundation%20Chairwoman%20Lee%20Seo%2Dhyun.
-https://www.reuters.com/article/us-samsung-electronics-chairman-wealth-f-idUSKBN27A09I
-https://www.ft.com/content/d9d664fa-0518-11ea-a984-fbbacad9e7dd
-https://www.forbes.com/real-time-billionaires/#6dc240a93d78
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lee_Kun-hee
「jd central wiki」的推薦目錄:
jd central wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก Reflation หนึ่งในปัจจัย ที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น / โดย ลงทุนแมน
การระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้
สร้างความบอบช้ำอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
แต่หลายคนคงแปลกใจว่า เศรษฐกิจไม่ดีแต่ทำไม ราคาสินทรัพย์หลายอย่างทั่วโลกกลับพุ่งสูงขึ้นทำลายสถิติกันเป็นว่าเล่น
ถ้าลองมาดูราคาและดัชนีเหล่านี้ เทียบกับช่วงต้นปี 2019
- ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นประมาณ 23%
- ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นประมาณ 47%
- ราคาทองคำ เพิ่มขึ้นประมาณ 18%
- ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นประมาณ 400%
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เราสามารถหยิบเอาปรากฏการณ์ “Reflation” ขึ้นมาใช้อธิบายได้
Reflation คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์หลายอย่างนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ง่ายๆ แค่เปิด Radars Point ทุกครั้งก่อนช้อป
ดาวน์โหลดที่นี่ > https://radarspoint.page.link/longtunman
╚═══════════╝
ปกติแล้ว ถ้าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า
หรือที่เรียกว่า การเกิดภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)
แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ อย่างเช่นวิกฤติโควิด 19 ในตอนนี้
ที่ทำให้ต่างคนต่างไม่กล้าใช้เงินเหมือนเดิม
สิ่งที่เราเห็นกันคือ ผู้คนเริ่มระมัดระวังเรื่องการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
หรือภาคธุรกิจไม่กล้าลงทุน เพราะต้องการถือเงินสดเอาไว้
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ตามมาด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ลดต่ำลง
จนบางครั้งเงินเฟ้ออาจติดลบ หรือที่เรียกว่าเกิดภาวะเงินฝืด (Deflation)
ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจโลกไม่เติบโต หรือเติบโตได้ช้าลง
เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ หน้าที่ของธนาคารกลางทั่วโลก
คือต้องออกมาตรการกระตุ้น เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว และกลับมาเติบโตต่อไปได้
โดยสิ่งที่ธนาคารกลางทำได้ก็คือ
1. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจ
2. ทำการอัดฉีดเงินมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า การทำ Quantitative Easing (QE)
ช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นธนาคารกลางทั่วโลก
ต่างลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจนเข้าใกล้ระดับ 0%
เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจ
และลดผลตอบแทนเงินฝาก เพื่อกระตุ้นให้คนนำเงินไปใช้กันให้มากขึ้น
ที่สำคัญที่สุดคือการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ
หรือที่เรียกว่า การทำ Quantitative Easing (QE)
ที่ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังทำกันอย่างหนัก
ลองมาดูการทำ QE ของธนาคารกลาง 4 รายใหญ่ของโลกในช่วงระหว่างปี 2020
ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19
ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ทำ QE เพิ่มขึ้น 93 ล้านล้านบาท
ธนาคารกลางยุโรปทำ QE เพิ่มขึ้น 87 ล้านล้านบาท
ธนาคารกลางญี่ปุ่นทำ QE เพิ่มขึ้น 39 ล้านล้านบาท
ธนาคารกลางอังกฤษทำ QE เพิ่มขึ้น 9 ล้านล้านบาท
โดยวิธีการดังกล่าว ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชน
แล้วหน่วยงานเหล่านั้น ก็จะนำเงินไปกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจริงต่อไป
เพื่อหวังให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้น และการจ้างงานเพิ่มขึ้น ในระบบเศรษฐกิจ
การกระทำทั้งหมดที่ว่ามานี้
ก็เพื่อเร่งให้เศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อกลับเข้าไปสู่เส้นทางการเติบโตระยะยาว
ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้น
เพราะการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหนัก
เพื่อหวังให้เศรษฐกิจกลับสู่การเติบโตในระยะยาวแบบนี้
ก็คือความหมายของการเกิด “Reflation” นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า เงินที่อัดฉีดทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) เพราะเงินจำนวนไม่น้อยกลับไหลเข้าไปยังสินทรัพย์ทั่วโลกมากขึ้น
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า การอัดฉีดเงินเข้าระบบจำนวนมาก
ทำให้ค่าของเงินสกุลนั้นอ่อนค่าลง
อย่างเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการทำ QE ในปริมาณมหาศาล
เมื่อรวมกับ การที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใช้มาตรการทางการคลัง
ด้วยการอัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19
จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงไปอย่างมาก จากต้นปี 2019 เมื่อไปเทียบกับเงินสกุลเงินสำคัญต่างๆ ของโลก
ประเด็นก็คือ ในปัจจุบันมีคนถือเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่จำนวนมาก
เพราะดอลลาร์สหรัฐถือเป็นเงินสกุลหลักของโลก
ซึ่งการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนที่ถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ เสมือนกำลังถือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ นักลงทุนจึงต้องมองหาสินทรัพย์อื่น
ที่จะเอาเงินไปลงทุน เพื่อชดเชยกับการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐนั้นอ่อนค่าลง
ซึ่งสินทรัพย์อื่นที่ว่านั้น ก็อย่างเช่น หุ้น, ทองคำ หรือแม้กระทั่ง Bitcoin
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้สินทรัพย์เหล่านี้ มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั่นเอง
- ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นประมาณ 23%
- ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นประมาณ 47%
- ราคาทองคำ เพิ่มขึ้นประมาณ 18%
- ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นประมาณ 400%
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้
แม้จะเห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคาสินทรัพย์เหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อเนื่อง
แต่คำถามสำคัญคือ การปรับตัวขึ้นของสินทรัพย์เหล่านั้น
มาจากปัจจัยพื้นฐาน หรือผลประกอบการที่แท้จริงมากแค่ไหน
หรือว่าจริงๆ แล้ว มันเกิดจากสภาพคล่องที่ล้นตลาดจากการอัดฉีดเงินเข้าระบบ
เพราะถ้าวันหนึ่ง ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
รัฐบาลหลายประเทศจะต้องลดการใช้จ่ายเงินลง
และธนาคารกลางหลายประเทศก็จะต้องหยุดการอัดฉีดเงินเข้าระบบ
เมื่อเวลานั้นมาถึง ก็น่าติดตามเหมือนกันว่า
ในตอนนั้น ราคาสินทรัพย์เหล่านี้
จะยังสามารถปรับตัวสูงขึ้นเหมือนช่วงที่ผ่านมา ได้หรือไม่ ? ..
╔═══════════╗
ง่ายๆ แค่เปิด Radars Point ทุกครั้งก่อนช้อป Lazada, Shopee, JD Central ฯลฯ เพื่อรับ Point คืน ให้คุณเลือกลงทุนแผนลงทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศ
.
สำหรับแฟนเพจลงทุนแมนและเป็นผู้ใช้ใหม่ Radars Point เพียงกรอกโค้ดลับ LTM8 รับฟรี 8 Point นำไปเริ่มต้นลงทุนได้ฟรีเลย!
.
ดาวน์โหลดที่นี่ > https://radarspoint.page.link/longtunman
รายละเอียดเพิ่มเติม > https://blog.radarspoint.com/radars-point
.
#RadarsPoint
#ลงทุนง่ายๆไม่ต้องใช้เงิน
╚═══════════╝
References
-https://www.businesstoday.co/opinions/24/09/2020/50801/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reflation
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.investing.com/currencies/us-dollar-index
-https://www.upmyinterest.com/fund?tick=Bitcoin
-https://th.tradingview.com/symbols/BTCUSD/